แกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานจากหลายกีฬาไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล รักบี้ แฮนด์บอลและบาสเก็ตบอล กีฬาแกลิคฟุตบอลกำเนิดจากประเทศไอร์แลนด์ตั้งแต่สมัยยุคกลางก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนและตั้งกฏกติการมารตรฐานเมื่อปึพุทธศักราช 2430 และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมาโดยเฉพาะในประเทศไอร์แลนด์ และเริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศที่มีชาวไอร์แลนด์อพยพไปตั้งรกรากทั้งในอเมริกา ออสเตรเลียและฯลฯ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเกียงกันว่ากีฬาแกลิคฟุตบอลถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาออสซี่รูลส์ (Australia Football)เนื่องด้วยพื้นฐานการเล่นการผ่านบอลการทำแต้มที่ความคล้ายคลึงกัน กระนั้นกีฬาแกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่เหมาะกับสรีระคนไทยเพราะเป็นกีฬาที่อาศัยความคล่องตัว ความเป็นทีม ความเร็ว ความแม่นยำ แท็คติก โดยอาศัยทักษะ การส่งลูกบอลโดยใช้ฝ่ามือหรือกำปั้นเคาะให้บอลออกจากมืออีกข้าง การส่งลูกบอลโดยการเตะ การเดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและที่สำคัญเป็นกีฬาที่ไม่อาศัยการชนหรือการกระแทกต่างๆนานาๆ ขนาดมาตรฐานของกีฬาแกลิคฟุตบอลเป็นสนามพื้นหญ้ามีขนาดใกล้เคียงกับสนามกีฬาฟุตบอลและรักบี้ โดยมีความยาวระหว่าง 130-145 เมตรและกว้าง 80-90 เมตร โดยมีเส้นแบ่งกีดขวางจากปลายสนามที่ 13 เมตร 20เมตร และ 45เมตร
ปลายสนามด้านยาวของทั้งสองข้างประกอบด้วยประตูตาข่ายพร้อมลักษณะเดียวกันกับประตูในกีฬาฟุตบอลคือ ตำแหน่งคานอยู่สูง 2.5 เมตรจากพื้นและยาว 6.5เมตร แต่ปลายเสาของสองจะมีความสูงขึ้นประมาณ 6-7เมตร โดยประตูในแกลิคฟุตบอลจะมี รูปทรงตัว H ในการแข่งขันทั้งระดับผู้ใหญ่ ระยะเวลาแข่งขั้นคือ 60 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที ยกเว้นในกรณีแมทช์การแข่งขันระดับประเทศ โดนจะอยู่ที่ 70 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 35 นาที ในกรณี่ที่ผลจบโดยการเสมอจะมีการต่อเวลาเพิ่มอีก 20 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 10 นาที จำนวนผู้เล่นตัวจริงต่อทีมในการแข่งขันตามมราตฐานแกลิคฟุตบอลคือทีมละ 15 คนรวมผู้รักษาประตู และตัวสำรองอีก 15คน โดยผู้เล่นตัวจริงจะต้องเรียงตำแหน่งหมายเลข 1 – 15 โดยมีผู้รักษาประตูติดเสื้อหลายเลขหนึ่ง และสีเสื้อของผู้รักษาประตูจะต้องไม่ซ้ำกับผู้เล่นในทีม ยกเว้นผู้รักษาประตูสำรอง
ตัวสำรองในทีมจะต้องเรียงตำแหน่งหมายเลข 16 – 30 โดยมีผู้รักษาประตูติดเสื้อหลายเลขหนึ่ง และสีเสื้อของผู้รักษาประตูจะต้องไม่ซ้ำกับผู้เล่นในทีม ยกเว้นผู้รักษาประตูตัวจริง ในแต่ละแมทช์แข่งขัน แต่ละทีมสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้แมทช์ละ 5 ครั้ง และอีก 1 ครั้งในกรณีที่ผูเล่นบาดเจ็บ โดยผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกไม่สามารถกลับมาเล่นได้อีก การแข่งขันแกลิคฟุตบอลในประเทศไอร์จะแบ่งเป็นในระดับจังหวัดโดยแต่ละจังหวัดจะะมีตัวแทนจากสโมสรในพื้นที่นั้นเข้าร่วม โดยการแข่งขันสูงสุดระดับประเทศคือรายการ All-Ireland Senior Football Championship โดยรอบคัดเลือกการแข่งขันระดับภาคแบ่งออกเป็น 4 จังหวัด (Province)
โดยทีมที่ชนะการแข่งขันในระดับจังหวัดจะได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในรายการ All-Ireland Senior Football Championship โดยอัตโนมัติ 4 ทีม ส่วนทีมระดับรองแชมป์อีก 4 ทีมในแต่ละจังหวัด แข่งขันรอบคัดเลือก 1 เกม โดยการจับฉลากประกบคู่ ส่วนทีมอื่นๆจากทั้ง 4 จังหวัดที่ตกรอบ เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก ซึ่งจะเป็นการพบกันในแบบน็อกเอาต์ (ยกเว้นทีมสโมสรNew York GAA ) โดยจะมีวิธิการประกบคู่กับทีมจากจังหวัดอื่นที่ตกรอบในรอบเดียวกัน ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายจะมี 2 ทีม โดยรวมทั้งหมดรอบสุดท้ายจะมีการแข่งขันด้วยกันทั้งหมด 8 ทีม การแข่งขันจะเริ่มช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและนัดชิงชนะเลิศในเดือนกันยายน โดยสนามที่ใช้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศทุกนัดคือสนาม โคร้กพาร์ค (Croke Park)
หมวดหมู่: กีฬาประเภททีมกีฬาที่มีต้นกำเนิดในประเทศไอร์แลนด์
-การเริ่มต้นเกมส์โดยกรรมการโยนลูกบอกจากจุดกลางสนามให้ผู้เล่นกองกลางจากสองทีม ทีมละ 2 คนแย่งลูกบอลกัน
-หลักจากที่การทำประตู การทำแต้ม หรือลูกบอลออกหลัก ผู้รักษาประตูสามารถดำเนินเกมส์ด้วยการ Kick-out หรือการเตะลูกบอลในกรอบผู้รักษาประตู ผู้เล่นอื่นจะต้องอยู่หลักเส้น 20 เมตรในขณะที่ผู้รักษาประตูเริ่มเกมส์
-ในกรณีผู้เล่นทำบอลออกจากเส้นหลังฝั่งตัวเอง ทีมฝ่ายตรงข้ามจะได้เตะลูกเริ่มที่เส้น 45 เมตร โดยจุดที่เตะต้องเป็นแนวเดียวกับจุดที่ลูกบอลออกจากเส้นขอบสนาม
-ในกรณีที่ผู้เล่นทำลูกบอลออกข้าง ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจากจุดที่บอลออกจากสนาม โดยสามารถเตะลูกบอกจากพื้นหรือจากมือ ผู้เล่นจะต้องอยู่หลังเส้นในขณะเตะเท่านั้น
-ในกรณีที่มีการที่ผู้เล่นทำฟาล์ว ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจากจุดที่มีการทำฟาว์ลเกิดขึ้น โดยสามารถเตะลูกบอกจากพื้นหรือจากมือ
-ในกรณีที่มีการที่ผู้เล่นทำฟาล์วในกรอบเขตโทษ ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจุดโทษจากเส้น 11 เมตร ผู้เล่นทีมรับไม่สามารถป้องกันประตูได้นอกจากผู้รักษาประตูเท่านั้น
-ในกรณีที่เกิดการทำฟาว์ลในจังหวะชุลมุน หรือสุดแต่วิสัยที่กรรมการจะตัดสินได้ การดำเนิดเกมส์ต่อด้วยการให้กรรมการโยนลูกบอลในลักษณะเดียวกับการเริ่มเกมส์
คณะกรรมการผู้ตัดสิน
-การแข่งขันแกลิคฟุตบอลในแต่ครั้ง คณะกรรมการผู้ตัดสินจะมีด้วยกันทั้งหมด 8 คนได้แก่
-ผู้ตัดสินที่หนึ่ง ผู้ตัดสินที่หนึ่งจะมีหน้าเป็นกรรมการหลักในสนาม มีหน้ารับผิดชอบได้ส่วนของการเริ่มเกมส์ ยุติเกมส์ รวมไปถึงการแจกใบเหลือง ใบดำและใบแดง
-ผู้ตัดสินที่สองและสามหรือไลน์แมน ผู้ตัดสินที่สองมีหน้ากำกับเส้นข้างสนามแนวยาวทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1 คน ในกรณีเหตุการณ์ลูกบอลออกข้าง การเตะลูกเข้าสู่สนามเพื่อเริ่มเกมส์รวมไปถึงการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุการณ์การฟาล์วรุนแรงในกรณีผู้ตัดสินที่หนึ่งไม่ทันสังเกตเห็น (การฟาว์ลทางเทคนิคไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ตัดสินที่ 1 ตามแต่ดุลยพินิจ)
-ผู้ตัดสินที่สี่ ผู้ตัดสินที่สี่มีหน้าในการกำกับเวลา การเปลี่ยนตัวผู้เล่นรวมไปถึงการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุการณ์การฟาล์วรุนแรงในกรณีผู้ตัดสินที่หนึ่งไม่ทันสังเกตเห็น (การฟาว์ลทาง-เทคนิคไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ตัดสินที่ 1 ตามแต่ดุลยพินิจ)
-อัมไพร์หรือกรรมการหลังประตู
-อัมไพร์ทำหน้าทีอยู่หลังประตูทั้งสองฝั่ง ฝั่งละ 2 คน โดยมีหน้าที่ตัดสินและการให้สัญญาญกรรมการกกรณีทีการทำคะแนนและประตูดังต่อไปนี้